พฤหัสบดี, เมษายน 18, 2024
   
Text Size

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ปี 2560

 

แผนพัฒนาจังหวัดระยอง พ.ศ.2557-2560

วิสัยทัศน์จังหวัดระยอง :
"เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง City innovative advances, Balanced development, Based on the sufficiency economy"

ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด :

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ควบคู่กับการพัฒนาไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมและเพื่อการท่องเที่ยว

ด้านเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่สาคัญและเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวจังหวัดระยอง เนื่องจากจังหวัดระยองมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม พืชเศรษฐกิจที่สาคัญของจังหวัด ได้แก่ ยางพารา สับปะรด มันสาปะหลัง ข้าว ปาล์มน้ามัน อ้อย ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด เป็นต้น ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลงทุกปี
ด้านการประมง จังหวัดระยองมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 100 กิโลเมตร การประกอบอาชีพประมงจึงเป็นอาชีพที่สาคัญ นอกจากการทาประมงประเภทอาหารสดแล้ว ยังมีการนามาทาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น อาหารทะเลแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีการทาประมงน้าจืดด้วย เนื่องจากมีอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ 5 อ่าง ปัจจุบันอาชีพประมงชายฝั่งหรือประมงเรือเล็กได้รับความเดือดร้อนมาก เนื่องจากสัตว์ทะเลเศรษฐกิจ เช่น กุ้ง หอย หมึก ปู ปลา มีน้อยลงและมีการแย่งชิงพื้นที่ประมง ประกอบกับพื้นที่ประมงเดิมมีการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ทาให้ต้องออกหากินไกลขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ด้านปศุสัตว์ จังหวัดระยองมีการเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กับการทาไร่ ทาสวนผลไม้ เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ แพะ เป็นต้น
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : ผลผลิตทางการเกษตร ประมงและปศุสัตว์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีคุณภาพ และมูลค่าเพิ่ม ขยายโอกาสทางการตลาดไปสู่ภายในและภายนอกประเทศ และพัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม และเกษตรท่องเที่ยว
กลยุทธ์ :
1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์เกษตร ประมง และปศุสัตว์ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2) สร้างและขยายเครือข่ายการตลาด ช่องทางการจาหน่ายสินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
3) สนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
4) เสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่ม/สหกรณ์/สถาบันเกษตรกร/บริษัทประชารัฐรักสามัคคี
5) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอานวยความสะดวกที่จาเป็นเพื่อให้การผลิตภาคเกษตร ประมง และปศุสัตว์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6) ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม เพื่อนาไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม และเกษตรท่องเที่ยว
7) ฟื้นฟูทรัพยากรพื้นฐานด้านการเกษตร ประมง และปศุสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวให้เติบโตควบคู่กับภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

การท่องเที่ยวของจังหวัดระยองในภาพรวมดีขึ้นทุกปี แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ในบางช่วง เช่น ปัจจัยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น ปัญหาภายในจังหวัดเอง เช่น ปัญหามลพิษจากภาคอุตสาหกรรม แต่ถึงแม้จะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามากระทบ แต่จานวนนักท่องเที่ยวก็ยังคงเติบโตอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี ภาคการท่องเที่ยวยังสามารถพัฒนาได้อีกมากจากทรัพยากรที่มีอยู่ โดยเฉพาะจากการเป็นเมืองเกษตรกรรมและเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยวได้อย่างลงตัว และสร้างความหลากหลายและแปลกใหม่ให้กับการท่องเที่ยว
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : เป็นแหล่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่ง/สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ :
1) ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเก่าและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
2) พัฒนาสินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน และหลากหลาย
3) พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
4) สร้างจิตสานึก/กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวในการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว
5) ส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น
6) เสริมสร้างการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว
7) พัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ สนับสนุนการดาเนินการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

การพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดระยองประสบความสาเร็จเชิงเศรษฐกิจในขณะเดียวกันได้เกิดปัญหามลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพ สร้างความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชนและชุมชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดกระแสต่อต้านและคัดค้านการพัฒนาพื้นที่ทั้งพื้นที่เดิมและพื้นที่ แม้ว่ารัฐบาลได้เพิ่มมาตรการสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น การพัฒนาพื้นที่จะประสบความสาเร็จได้ต้องคานึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ในลักษณะเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industrial town) เป็นรูปแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประสบความสาเร็จในหลายๆ ประเทศโดยกลมกลืนของอุตสาหกรรม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบพื้นที่อุตสาหกรรม มีความเจริญเติบโตร่วมกันและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : จังหวัดระยองเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสมดุลและยั่งยืน รองรับนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลได้อย่างสมดุล
กลยุทธ์ :
1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกระดับมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) ที่ถูกต้อง นาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์
2. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อความพร้อมในการรองรับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล (ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Thailand 4.0 Super Cluster)
3. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน กากับดูแล และเตือนภัยจากการกระบวนการผลิต อุบัติเหตุ อุบัติภัย มลพิษ ของเสีย รวมทั้งการขนส่งสินค้าจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
4. พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
5. ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู และควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาของจังหวัดระยอง การแก้ไขปัญหาต่างๆ ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามาร่วมคิด ร่วมทา ร่วมแก้ปัญหา ร่วมมือ สนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ในอันจะนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาสาคัญของจังหวัด โดยเฉพาะการเสื่อมโทรมและการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและไม่ถูกวิธี ดังนั้น การดาเนินการต่างๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรต่างๆ จึงเป็นเรื่องสาคัญเป็นอย่างยิ่ง
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู มีการนามาใช้อย่างคุ้มค่า และทุกภาคส่วนดาเนินกิจกรรมโยคานึงถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ :
1. เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการเพิ่มพื้นที่ทั้งป่าบก ป่าชายเลน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศน์
3. อนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรน้า รวมถึงการจัดการคุณภาพน้าตามธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากแหล่งกาเนิด รวมทั้งมีระบบการจัดการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
5. เสริมสร้างจิตสานึก ความรู้ ความเข้าใจ สร้างภาคเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม ในทุกภาคส่วน
6. ตั้งรับ ปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
7. สนับสนุนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการใช้ทรัพยากรต่างๆ จากทุกภาคส่วน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : เสริมสร้างมาตรฐานการดารงชีวิต และการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จากสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนของจังหวัดระยอง มีการเปลี่ยนการประกอบอาชีพจากการทาเกษตรกรรม มาเป็นรับจ้างทางานในโรงงานอุตสาหกรรม มีการอพยพโยกย้ายของคนในท้องถิ่นอื่นเข้ามาในชุมชนมาก ส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทาให้ความต้องการบริการของรัฐ ทั้งทางด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุขและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพิ่มมากขึ้น เกินกว่าความสามารถที่จะตอบสนองได้ทันกับความต้องการ เกิดปัญหาตามมาอีกมายมาย เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด สาธารณูปโภค เป็นต้น จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น การสร้างเสริมสังคมให้มีคุณธรรมนาความรู้ในแง่มุมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างสังคมให้มีความรู้ มีคุณธรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกันภายในชุมชนอย่างสมดุลมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนในชุมชนซึ่งรวมทั้งเด็กและเยาวชน ให้ตระหนักถึงความสาคัญของการศึกษา การเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จาเป็นต่อการใช้ชีวิต และการประกอบอาชีพ รวมทั้งการดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามมาตรฐานที่กาหนด ภายใต้การน้อมนาแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
กลยุทธ์ :
1. เสริมสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยจากการคุกคามต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งสถาบันทางสังคม
3. ส่งเสริม สนับสนุนแนวทางการดารงชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. สนับสนุนการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจฐานรากชุมชน
5. พัฒนาระบบโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อการบริการประชาชนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
6. อนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมให้คงอยู่
7. เสริมสร้างมาตรฐานการดารงชีวิตขั้นพื้นฐาน และพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 : สร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคพาณิชยกรรม และภาคบริการสู่สากล

จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์และนโยบายสาคัญ เช่น การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC) การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลหลักๆ คือ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองพัทยา-มาบตาพุด โครงการรถไฟรางคู่ทางมาตรฐานช่วงหนองคาย – มาบตาพุด โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ พัทยา ระยอง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยอง พัทยา โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ตลอดจนนโยบายจังหวัดระยองการเป็น MICE CITY (การจัดประชุมนานาชาติการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดนิทรรศการ (Meeting Incentive Convention and Exhibition) จึงเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายที่จะต้องเร่งรัดดาเนินการทั้งชิงรุกและเชิงรับ เพื่อรองรับการดาเนินการดังกล่าว
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : ภาคพาณิชยกรรม และภาคบริการได้รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถในการเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล
กลยุทธ์ :
1 .ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการของจังหวัดให้มีนวัตกรรมและความทันสมัย สู่ระดับสากล
2. ส่งเสริมสถานประกอบการ/สถานบริการ ให้มีมาตรฐานสากล
3. ส่งเสริมการผลิตบุคลากร และพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการ/สถานบริการ
4. พัฒนาสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนา และความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้ประกอบการ


สำนักงานจังหวัดระยอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดระยอง
ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21150
โทรศัพท์ : 0-3869-4000, 0-3869-4010 แฟกซ์ : 0-3869-4160
E-mail : rayong@moi.go.th